วันอังคารที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2555

img8.gif
.สิ่งที่ต้องเตรียม

แป้งเปาะเปี๊ยะ                       10 แผ่น

ซ่าหริ่ม                                 300 กรัม

แครอทลวกหั่นเป็นเส้นยาว ถั่วงอกลวก

และเห็ดนางฟ้าลวก อย่างละ                100 กรัม

แตงกวาหั่นเป็นเส้นยาว                       100 กรัม

ผักกาดหอม                                       10 ใบ

ไข่เจียว                                            10 แผ่น

น้ำสำหรับราดเปาะเปี๊ยะ

ผักสดสำหรับแต่ง



สิ่งที่ต้องเตรียม

(สำหรับผสมน้ำราดเปาะเปี๊ยะ)

น้ำมะขามเปียก                      250 กรัม

(จากมะขามเปียก)                  30 กรัม

น้ำตาลทราย                          100 กรัม

น้ำตาลทรายแดง                    125 กรัม

ซีอิ๊วขาว                                 50 กรัม

น้ำมันงา                                1 ช้อนโต๊ะ

รากผักชีบุบพอแตก                 2 ราก

ผงพะโล้                                2 ช้อนชา

ซีอิ๊วดำชนิดหวาน                  1 ช้อนโต๊ะ

แป้งสาลีอเนกประสงค์ละลายน้ำ              3 ช้อนโต๊ะ

งาขาวคั่วบุบพอแตก                              2 ช้อนโต๊ะ

ถั่วลิสงคั่วบุบพอแตก                             2 ช้อนโต๊ะ

วิธีทำ

- วางแป้งเปาะเปี๊ยะลงบนเขียง วางซ้อนด้วยผักกาดหอมและไข่เจียว เรียงซ่าหริ่ม ถั่วงอก แตงกวา แครอท และเห็ดนางฟ้า แล้วม้วนเป็นท่อนกลม

- หั่นเป็นท่อน จัดลงจานเสิร์ฟ ราดหน้าด้วยน้ำราดเปาะเปี๊ยะ โรยหน้าด้วยงาขาวคั่ว และแต่งให้สวยด้วยผักสด

 วิธีทำ (ทำน้ำราดเปาะเปี๊ยะ)

- เคี่ยวส่วนผสมทั้งหมดเข้าด้วยกัน ยกเว้นงาขาวคั่ว และถั่วลิสงคั่วจนเดือด ใส่แป้งสาลีอเนกประสงค์ที่ละลายเตรียมไว้ คนผสมจนเดือดทั่วดี เติมงาขาว และถั่วลิสง จึงยกลง



 ประเพณีลอยกระทงเป็นประเพณีที่มีมายาวนาน


      อีกไม่กี่วันแล้วก็จะถึงงานเทศกาลวันลอยกระทง ซึ่งเป็นงานเทศกาลแห่งความสุขและรื่นเริง ลอยกระทงเป็นประเพณีที่มีมายาวนาน บ้างก็ว่ามีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย บ้างก็ว่ามีมาตั้งแต่ก่อนสมัยสุโขทัย เรียกได้ว่าเริ่มมีประวัติศาสตร์ชาติไทยขึ้นมาก็มีประเพณีลอยกระทงกันเลยทีเดียว

ประวัติวันลอยกระทงและประเพณีลอยกระทง

การลอยกระทงมีวัตถุประสงค์ด้วยกัน 2 ประการ คือ

      1. เพื่อบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า บางท้องที่ถือว่าลอยกระทงเพื่อบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเนื่องในโอกาสที่พระพุทธองค์ได้ไปแสดงธรรมในนาคภิภพ และทรงประทับรอยพระบาทไว้ที่ริมฝั่งแม่น้ำนัมมทานที (1) เพราะฉะนั้นการที่บ้านเรามีประเพณีลอยกระทง ในคืนวันเพ็ญเดือนสิบสองก็เพื่อบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเนื่องในโอกาสนี้

 

      ส่วนทางเหนือนั้นมีประเพณียี่เป็ง มีทั้งลอยกระทงและลอยโคมขึ้นไปบนท้องฟ้าเพื่อบูชาพระเขี้ยวแก้วของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่งบรรจุอยู่ในจุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เราจึงจุดประทีป ลอยโคม ส่งใจขึ้นไปบูชาพระเขี้ยวแก้วร่วมกับพระอินทร์ที่นำหมู่เทวดาบูชาพระเขี้ยวแก้วที่จุฬามณีในวันเพ็ญเดือนสิบสองนี้เช่นกัน


      ยี่เป็งสันทราย ได้จัดประเพณีลอยกระทง และลอยโคม ซึ่งเป็นภาพวัฒนธรรมไทยที่งดงามมากในสายตาของชาวโลก และยังได้มีการจัดลอยโคมที่มองโกเลีย และอินเดียเพื่อบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างยิ่งใหญ่มาแล้วด้วย


      2. เพื่อบูชาพระแม่คงคา เป็นการแสดงการขอบคุณน้ำ เพราะมนุษย์เราอยู่ได้เพราะน้ำ ตั้งแต่โบราณมาชุมชนทั้งหลายเวลาสร้างเมือง ต่างก็เลือกติดแม่น้ำ ดังนั้นถึงเวลาในรอบ 1 ปี ก็เลือกเอาวันเพ็ญเดือนสิบสอง ระลึกว่าตลอดปีที่ผ่านมา เราได้อาศัยน้ำในการดำรงชีวิต  ขณะที่ลอยกระทงเราก็นึกถึงคุณของน้ำ ไม่ใช่ลอยเฉยๆ ต้องรำลึกว่าต้องรู้จักใช้น้ำอย่างถูกวิธี และใช้น้ำอย่างคุ้มค่า ไม่ใช้ทิ้งขว้าง  ไม่ทำให้น้ำสกปรก ไม่ปล่อยของเสียลงแม่น้ำ เป็นการขอขมาและขอบคุณพระแม่คงคา ไม่ใช่เป็นการไหว้เทวดาพระแม่คงคาแต่อย่างใด แต่เป็นการแสดงการขอบคุณน้ำ ในฐานะที่เป็นผู้ให้ชีวิตเรา